WORLD7

BANPU2024

powertime 950x100pxsmed MTI 720x100

 

5152 CPAC 1

CPAC ในเครือ SCG ผนึก SB&M พันธมิตรญี่ปุ่น รุกธุรกิจซ่อมสร้างอาคารสูง ดึงเทคโนโลยีเสริมแกร่ง ยืดอายุโครงสร้างอาคาร

          เมื่อโครงสร้างพื้นฐานและอาคารหลายแห่งในประเทศไทยมีอายุใช้งานเกินกว่า 30–50 ปี พร้อมเผชิญกับความเสี่ยงใหม่ๆ จากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ธุรกิจซ่อมแซมและบำรุงรักษาโครงสร้าง จึงไม่ได้เป็นเพียงงานบำรุงปกติอีกต่อไป แต่กลายเป็นหนึ่งใน “แนวป้องกันระดับชาติ” ที่จะช่วยยืดอายุอาคาร ลดการสูญเสีย และป้องกันความเสียหายเชิงเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ

 

          แผ่นดินไหว: ความเสี่ยงที่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด

          แม้ว่าไทยจะไม่ได้อยู่ในแนวรอยเลื่อนหลักของโลก แต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.7 ริกเตอร์ ที่เมียนมา เมื่อ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 ที่ส่งแรงสั่นสะเทือนถึงหลายจังหวัดในประเทศไทย จนทำให้เกิดผลกระทบด้านโครงสร้างอาคารหลายแห่งเสียหาย รวมถึงเหตุแผ่นดินไหว 6.4 ริกเตอร์ ที่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ในปี 2557 แรงสั่นสะเทือนส่งผลถึงตึกสูงในกรุงเทพฯ ด้วยเช่นกัน เหตุการณ์เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างในไทย โดยเฉพาะอาคารเก่า ที่แม้จะมีการออกแบบรับแรงสั่นสะเทือนแล้ว ควรพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดจากภัยแผ่นดินไหวด้วย

          CPAC บริษัทในเครือเอสซีจี ซึ่งร่วมทุนกับ SB&M ได้นำความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีซ่อมแซมโครงสร้างของ SB&M มาต่อยอดธุรกิจ Lifetime Solution แบบครบวงจร เพื่อให้บริการงานก่อสร้างในไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมตั้งแต่การตรวจสอบ ไปจนถึงซ่อมแซม เสริมกำลัง และป้องกันความเสียหายของโครงสร้างในระดับลึก

          “เราไม่ได้มองแค่การซ่อมเมื่อเกิดความเสียหาย แต่คือการยืดอายุ และทำให้อาคาร-โครงสร้างพร้อมรับมือกับเหตุไม่คาดฝัน เช่น แผ่นดินไหว” — นายสุรชัย นิ่มละออ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ กล่าว

 

          เทคโนโลยีจากญี่ปุ่น สู่การประยุกต์ใช้ในไทย

          ญี่ปุ่นคือหนึ่งในประเทศที่มีประสบการณ์ในการรับมือแผ่นดินไหวมากที่สุดในโลก และ SB&M ก็ถือกำเนิดจากสองบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น ได้แก่ SHO-BOND ซึ่งมีความเชี่ยวชาญวัสดุซ่อมแซมระดับจุลภาค และ Mitsui กลุ่มธุรกิจธุรกิจเทรดดิ้งและการลงทุนระดับโลก ที่ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีในการเสริมความแข็งแรงและซ่อมแซมโครงสร้างขนาดใหญ่หลังเหตุภัยพิบัติ นอกจากความเชี่ยวชาญวัสุดุซ่อมแซมระดับจุลภาค SB&M ยังมีความชำนาญแบบเจาะลึกทั้งด้านเทคโนโลยี วัสดุศาสตร์ และการพัฒนานวัตกรรมซ่อมแซม โดยเฉพาะใน 3 ด้านหลัก:

          1. Research & Development: มีทีมวิจัยและพัฒนากว่า 500 คน ที่พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

          2. Engineering Experts: ทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญที่สามารถออกแบบการซ่อมแซมเฉพาะทางได้อย่างแม่นยำ

          3. Fine Particle Technology: เทคโนโลยีวัสดุระดับไมครอนที่ช่วยให้วัสดุซ่อมแซมยึดเกาะและฟื้นฟูโครงสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

5152 CPAC 2

 

          การร่วมทุนในครั้งนี้ จึงเป็นการนำความรู้และจุดแข็งของทั้ง SB&M และ Mitsui มาต่อยอดผ่านบริการ 5 กลุ่มหลักของ CPAC-SB&M ได้แก่:

          - การตรวจประเมินสุขภาพโครงสร้างด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง

          - การซ่อมแซมและบำรุงรักษาตามมาตรฐานวิศวกรรม

          - การเสริมกำลังโครงสร้างให้รองรับแรงสั่นสะเทือนได้มากขึ้น

          - การป้องกันสนิมและการกัดกร่อน เพื่อยืดอายุการใช้งาน

          - การจัดหาวัสดุนวัตกรรมที่ออกแบบเฉพาะสำหรับงานซ่อมแซม

 

          กรณีศึกษา: การฟื้นฟูหลังแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น

          หากถามว่า หัวใจสำคัญของงานซ่อมแซม ป้องกันอาคารคืออะไร คำตอบที่มาเป็นอันดับแรกเลยคือ การตรวจประเมินความเสียหายอย่างละเอียด ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุด เพราะต้องทราบต้นตอและขอบเขตของความเสียหายก่อน ต่อจากนั้นจึง เลือกใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การสแกนโครงสร้าง (Structural Scanning), การวิเคราะห์ด้วยแบบจำลอง 3 มิติ (BIM), หรือ AI วิเคราะห์ความผิดปกติวิเคราะห์ว่าโครงสร้างยังปลอดภัยหรือไม่ ควรซ่อมแซมหรือรื้อบางส่วน

          ต่อจากนั้นคือ การวางแผนและออกแบบการซ่อมแซมอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยระหว่างซ่อม, อายุการใช้งานในอนาคต และต้นทุน การเลือกใช้วัสดุและวิธีการซ่อมที่เหมาะกับประเภทความเสียหาย เช่น คอนกรีตร้าว, เหล็กเป็นสนิม, ฐานรากทรุดตัว โดยต้องมีวิศวกรโครงสร้างหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าร่วม

          หลังจากนั้นคือ การดำเนินการซ่อมแซมด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ใช้ทีมช่างหรือผู้รับเหมาที่มีความชำนาญ มีการควบคุมคุณภาพงาน (QC) และความปลอดภัยระหว่างทำงาน สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือ การบำรุงรักษาและติดตามผลระยะยาว ไม่ใช่แค่ซ่อมแล้วจบ แต่ต้องมีแผนบำรุงรักษาระยะยาว เช่น การตรวจสอบประจำปี ติดตั้งระบบติดตามโครงสร้าง เช่น IoT sensor ตรวจจับแรงสั่นสะเทือน ความชื้น การทรุดตัว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียหายซ้ำ และยืดอายุอาคาร 

          หนึ่งในผลงานเด่นของ SB&M คือ การฟื้นฟูสะพานและโครงสร้างริมทางด่วนในเมืองคุมาโมโตะ หลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปี 2559 ทีมงานของ SB&M สามารถเร่งตรวจสอบจุดร้าว ปรับปรุงฐานราก และเสริมกำลังสะพานให้กลับมาใช้งานได้ในเวลาอันสั้น พร้อมเพิ่มการป้องกันแรงสั่นในอนาคต

          เทคโนโลยีเดียวกันนี้กำลังถูกนำมาประยุกต์ใช้กับโครงสร้างในประเทศไทย เช่น อาคารสูง คอนโดมิเนียม อาคารราชการ โรงพยาบาล สะพานขนาดใหญ่ ไปจนถึงโครงสร้างสาธารณูปโภค

 

5152 CPAC 4

 

          จาก “ซ่อมแซม” สู่ “การลงทุนเพื่อความปลอดภัยระยะยาว”

          ในยุคที่โครงสร้างเก่าและภัยธรรมชาติเพิ่มความเสี่ยงให้เมืองไทย การเลือก “ซ่อมแซม” แบบมืออาชีพจึงไม่ใช่เพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอีกต่อไป แต่คือการวางระบบความปลอดภัยของสิ่งก่อสร้าง โครงการต่างๆ ที่ส่งผลต่อความเสียหายทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และระบบเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว

          CPAC-SB&M จะนำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญที่มี มายกระดับการทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการดูแลโครงสร้างสำคัญทั่วประเทศ ด้วยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีระดับโลก และวัสดุซ่อมแซมที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับสภาพแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียน

 

สอบถามข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ CPAC Contact center 02-555-5555

 

 

5152

Click Donate Support Web 

PTG 720x100

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลให้รอบ...
 ก.ล.ต.ร่วมออกบูธในงานมหกรรมการเงิน ครั้ง...
SAM ชูแนวคิด 'ส่งมอบโอกาสเพื่อคนไทย เริ่มต้นใหม่...
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุง...
ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับจดทะเบียน 12 DR ใหม่ อ้างอิงห...

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัท ดีวี8 จำกัด (มหาชน)
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัท ดีวี8 จำกัด (มหาชน)           สภาพ...

Read more

ก.ล.ต. ร่วมออกบูธในงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 25 (MONEY EXPO 2025)
 ก.ล.ต.ร่วมออกบูธในงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 25 (MONEY EXPO 2025)        นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรร...

Read more

SAM ชูแนวคิด'ส่งมอบโอกาสเพื่อคนไทย เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน'เปิดบูท'มันนี่ เอ็กซ์โป 2025'จัดโปรฯ เด่นทรัพย์มือสอง พร้อมช่วยลูกค้าปรับหนี้ NPL และ'คลินิกแก้หนี้ by SAM'
SAM ชูแนวคิด 'ส่งมอบโอกาสเพื่อคนไทย เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน' เปิดบูท'มันนี่ เอ็กซ์โป 2025' จัดโปรฯ เด่นทรัพย์มือสอง พร้อมช่วยลูกค้าปรับหนี้ NPL และ...

Read more

ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) หุ้นที่มีราคาปิดตั้งแต่ 50 บาท 6 เดือนติดต่อกัน และกรอบราคาต่ำสุด (Floor) หุ้นเข้าใหม่ ถึง 13 มิ.ย. นี้
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) หุ้นที่มีราคาปิดตั้งแต่ 50 บาท 6 เดือนติดต่อกัน และกรอบราคาต่ำสุด (Floor...

Read more

ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับจดทะเบียน 12 DR ใหม่ อ้างอิงหุ้น Magnificent 7 – Terrific 10 ออกโดย BLS เริ่มซื้อขาย 15 พ.ค. นี้
ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับจดทะเบียน 12 DR ใหม่ อ้างอิงหุ้น Magnificent 7 – Terrific 10 ออกโดย BLS เริ่มซื้อขาย 15 พ.ค. นี้         &nb...

Read more