WORLD7

BANPU2024

powertime 950x100pxsmed MTI 720x100

 

5267 MTL PRI

เมืองไทยประกันชีวิต เดินหน้านโยบายการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ พร้อมประกาศเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกของไทย ที่เข้าร่วมลงนาม UN-supported Principles for Responsible Investment (PRI)
          บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสร้างรอยยิ้มและความสุขที่ยั่งยืนในทุกมิติ ล่าสุด เป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกในประเทศไทย ที่เข้าร่วมลงนาม Principles for Responsible Investment (PRI Signatory) ซึ่งเป็นหลักการลงทุนที่รับผิดชอบในระดับสากลที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ (United Nations) 
          นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีเป้าหมายการลงทุนที่มุ่งสร้างผลตอบแทนระยะยาวภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมเพื่อ ตอบโจทย์การเป็นบริษัทประกันชีวิตที่มีความมั่นคง แข็งแกร่งทั้งด้านการเงิน การบริการ และภาพลักษณ์ ดำเนินธุรกิจตามหลักบรรษัทภิบาล และแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี และการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการสร้างสมดุลทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (ESG) เพื่อสร้างรอยยิ้มและความสุขที่ยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
          โดยบริษัทฯ เชื่อมั่นว่าหลักการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ ที่คำนึงถึงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของกิจการที่เข้าไปลงทุน นอกเหนือจากการคำนึงถึงด้านผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนแล้วนั้น จะช่วยส่งเสริมให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ลงทุน และสร้างความยั่งยืนในระยะยาวต่อตลาดทุนโดยรวมได้
          นายสาระ กล่าวว่า “เมืองไทยประกันชีวิต มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมลงนามรับหลักการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ (PRI Signatory) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามหลักการลงทุนอันเป็นที่ยอมรับและใช้อย่างแพร่หลายในระดับสากล ซึ่งสอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ และมุ่งหวังที่จะได้ร่วมมือกับผู้ลงนามอื่นๆ ในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการลงทุนที่มีความรับผิดชอบและยั่งยืนต่อไป”

          ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) สำหรับการลงทุนมาตั้งแต่ ปี 2562 และพัฒนาเป็นนโยบายการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบในปี 2567 โดยมีการนำหลักการลงทุน ที่มีความรับผิดชอบมาใช้ในกระบวนการลงทุน ตั้งแต่การคัดเลือกหลักทรัพย์ การวิเคราะห์หลักทรัพย์เพื่อการสร้างพอร์ตโฟลิโอการลงทุน รวมไปถึงการมีส่วนร่วม (Engagement) กับกิจการที่เข้าไปลงทุน และ การดำเนินการร่วมกับผู้ร่วมตลาดเพื่อพัฒนาการลงทุนของบริษัท และมีส่วนร่วมในการพัฒนาตลาดทุนโดยรวม
          นายเดวิด แอทกิน CEO PRI กล่าวว่า “เรายินดีต้อนรับบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทประกันชีวิตไทยแห่งแรกที่ลงนามใน PRI เนื่องจากอุตสาหกรรมประกันภัยมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในการพัฒนาแนวทางแบบองค์รวมที่รวมประเด็นด้านความยั่งยืนในการประเมินความเสี่ยง และเราหวังว่าจะได้ทำงานร่วมกับเมืองไทยประกันชีวิต เพื่อช่วยเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนอย่างรับผิดชอบในภูมิภาคนี้”
          สำหรับ PRI เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) ก่อตั้ง ในปี 2006 ที่นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ซึ่งให้หลักปฏิบัติเรื่องหลักการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ โดยมี การผนวกประเด็นเรื่อง สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เข้าด้วยกัน และนำไปใช้ในกระบวนการตัดสินใจลงทุนตลอดจนการมีส่วนร่วมของผู้ถือหุ้น (Active Ownership) ความร่วมมือของทั้งสามฝ่ายจากทั้ง UN Global Compact UNEP Finance Initiatives และผู้เข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน จะช่วยเสริมสร้างความมั่งคง ความยั่งยืนในระยะยาวให้กับตลาดทุน สังคมและเศรษฐกิจของโลก ปัจจุบันมีสถาบันที่เข้าร่วมลงนามกว่า 5,000 รายทั่วโลก ซึ่งมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวมกว่า 128 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งผู้ที่ร่วมลงนามตกลงที่จะปฏิบัติตามหลักการลงทุนที่รับผิดชอบ ทั้ง 6 ประการ ดังต่อไปนี้
          หลักปฏิบัติที่ 1: พึงนำประเด็นด้าน ESG มาประกอบการวิเคราะห์และการตัดสินใจลงทุน

          หลักปฏิบัติที่ 2: พึงใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นอย่างจริงจัง และนำประเด็นด้าน ESG เป็นส่วนหนึ่งของการ กำหนดนโยบายและหลักปฏิบัติการใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น

          หลักปฏิบัติที่ 3: พึงสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ ที่เข้าไปลงทุน เปิดเผยข้อมูลด้าน ESG

          หลักปฏิบัติที่ 4: พึงส่งเสริมประเด็นด้าน ESG ให้เกิดการยอมรับและการปฏิบัติในอุตสาหกรรมการลงทุน

          หลักปฏิบัติที่ 5: พึงให้ความร่วมมือในการนำหลักปฏิบัติการลงทุนที่รับผิดชอบมาใช้ปฏิบัติ

          หลักปฏิบัติที่ 6: พึงรายงานข้อมูลข่าวสารความคืบหน้าในการดำเนินงานตามหลักปฏิบัติการลงทุนที่รับผิดชอบ

 

 

5267

Click Donate Support Web 

PTG 720x100

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลให้รอบ...
 ก.ล.ต.ร่วมออกบูธในงานมหกรรมการเงิน ครั้ง...
SAM ชูแนวคิด 'ส่งมอบโอกาสเพื่อคนไทย เริ่มต้นใหม่...
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุง...
ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับจดทะเบียน 12 DR ใหม่ อ้างอิงห...

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัท ดีวี8 จำกัด (มหาชน)
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัท ดีวี8 จำกัด (มหาชน)           สภาพ...

Read more

ก.ล.ต. ร่วมออกบูธในงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 25 (MONEY EXPO 2025)
 ก.ล.ต.ร่วมออกบูธในงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 25 (MONEY EXPO 2025)        นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรร...

Read more

SAM ชูแนวคิด'ส่งมอบโอกาสเพื่อคนไทย เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน'เปิดบูท'มันนี่ เอ็กซ์โป 2025'จัดโปรฯ เด่นทรัพย์มือสอง พร้อมช่วยลูกค้าปรับหนี้ NPL และ'คลินิกแก้หนี้ by SAM'
SAM ชูแนวคิด 'ส่งมอบโอกาสเพื่อคนไทย เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน' เปิดบูท'มันนี่ เอ็กซ์โป 2025' จัดโปรฯ เด่นทรัพย์มือสอง พร้อมช่วยลูกค้าปรับหนี้ NPL และ...

Read more

ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) หุ้นที่มีราคาปิดตั้งแต่ 50 บาท 6 เดือนติดต่อกัน และกรอบราคาต่ำสุด (Floor) หุ้นเข้าใหม่ ถึง 13 มิ.ย. นี้
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) หุ้นที่มีราคาปิดตั้งแต่ 50 บาท 6 เดือนติดต่อกัน และกรอบราคาต่ำสุด (Floor...

Read more

ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับจดทะเบียน 12 DR ใหม่ อ้างอิงหุ้น Magnificent 7 – Terrific 10 ออกโดย BLS เริ่มซื้อขาย 15 พ.ค. นี้
ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับจดทะเบียน 12 DR ใหม่ อ้างอิงหุ้น Magnificent 7 – Terrific 10 ออกโดย BLS เริ่มซื้อขาย 15 พ.ค. นี้         &nb...

Read more