WORLD7

BANPU2024

powertime 950x100pxsmed MTI 720x100

 

5140 EXIM Tariffs

ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อรับแรงกระแทกจาก Reciprocal Tariffs

โดย ฝ่ายวิจัยธุรกิจ

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)

 

          EXIM BANK ประเมินแม้สหรัฐฯ เลื่อน Reciprocal Tariffs ออกไป 90 วัน แต่พบว่าระยะสั้น ตลาดการเงินยังแปรปรวน ส่วนตลาดส่งออกได้แรงบวกจาก Panic Buying ขณะที่ระยะถัดไป เศรษฐกิจและการค้าโลกเสี่ยงชะลอตัว ส่งผลต่อเนื่องถึงไทย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยต้องพร้อมรับมือกับสถานการณ์เลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นผ่าน 4 แนวทางการปรับตัว ได้แก่ เข้าถึงคู่ค้าของตนเอง เข้าถึงเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง เข้าสู่ตลาดใหม่ และเข้าใจสถานการณ์ให้ถ่องแท้

          ตลาดการค้าโลกบรรเทาจากภาวะตื่นตระหนกหลังสหรัฐฯ เลื่อนการบังคับใช้มาตรการภาษีศุลกากรแบบตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ออกไป 90 วัน หรือถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 เพื่อให้แต่ละประเทศมีเวลาเจรจาต่อรองผลประโยชน์กับสหรัฐฯ โดยตรง ก่อนที่สหรัฐฯ จะตัดสินใจอีกครั้งว่าจะใช้มาตรการดังกล่าวกับแต่ละประเทศอย่างไร โดยปัจจุบันไทยอยู่ระหว่างขั้นตอนติดต่อและเจรจา ซึ่งไม่ว่าผลสุดท้ายจะเป็นอย่างไร ผู้ประกอบการไทยต้องพร้อมรับมือกับสถานการณ์เลวร้าย (Worst Case Scenario) ที่อาจเกิดขึ้น โดยสถานการณ์และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ 

 

          ระยะสั้น...ตลาดการเงินแปรปรวน แต่ตลาดส่งออกได้แรงบวกจาก Panic Buying

          ตลาดการเงินอ่อนไหวและผันผวนจากความไม่มั่นใจในนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งมาตรการของสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมาสร้างความตื่นตระหนกกับตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตั้งแต่ตลาดหุ้น ค่าเงิน และสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำต้องเผชิญความผันผวน สังเกตได้จากดัชนีวัดความผันผวนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ (Volatility Index: VIX) ในช่วงต้นเดือนเมษายน 2568 ที่ปรับสูงขึ้นแตะระดับ 50 จุด สูงสุดในรอบ 31 เดือน ขณะที่ U.S. Dollar Index ซึ่งเป็นดัชนีวัดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเทียบสกุลเงินหลักของโลก อ่อนค่าลงแตะระดับ 98 จุด ต่ำสุดในรอบ 3 ปี ส่งผลให้ผู้ส่งออกไทยจำเป็นต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน 

          ภาคส่งออกได้แรงบวกจากความต้องการซื้อสินค้าในภาวะตื่นตระหนกหรือ Panic Buying เนื่องจากผู้นำเข้าและผู้บริโภคเร่งซื้อสินค้าเพื่อกักตุนก่อนที่ราคาสินค้าจะปรับขึ้นหลัง Reciprocal Tariffs บังคับใช้ และทดแทนสินค้าจากจีนที่ถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นแล้วอย่างน้อย 145% ส่งผลให้การส่งออกไทยไปสหรัฐฯ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมมีโอกาสเติบโตต่อเนื่องจากไตรมาส 1 ที่ขยายตัวถึง 25% อาทิ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และอุปกรณ์สื่อสารและส่วนประกอบ อย่างไรก็ตาม ต้องพึงระวังว่าเมื่อตลาดมีความชัดเจนมากขึ้นในระยะข้างหน้า ความต้องการสินค้าดังกล่าวอาจลดลงแบบกะทันหันได้ เนื่องจากไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง (Real Demand) 

 

          ระยะถัดไป...เศรษฐกิจและการค้าโลกเสี่ยงชะลอตัว ส่งผลต่อเนื่องถึงไทย

          เศรษฐกิจและการค้าโลกเสี่ยงชะลอตัว โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์อัตราขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2568 เหลือ 2.8% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 3.3% โดยมีมาตรการ Reciprocal Tariffs ของสหรัฐฯ เป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันเศรษฐกิจ เช่นเดียวกันกับการที่องค์การการค้าโลก (WTO) คาดว่าปริมาณการค้าโลกจะหดตัว 0.2% ในปีนี้ จากเดิมที่เคยคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 2.7% ทั้งนี้ สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้เริ่มมีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยเช่นเดียวกัน อาทิ IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2568 เหลือขยายตัว 1.8% จากเดิม 2.9% และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับเหลือ 2.0% จากเดิม 2.9%

          การส่งออกไทยได้รับผลกระทบแน่นอนในระยะข้างหน้า แต่ความรุนแรงยังคงขึ้นกับผลสรุปสุดท้ายของมาตรการ Reciprocal Tariffs ที่สหรัฐฯ จะใช้กับไทย อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจและการค้าโลกปี 2568 ที่มีแนวโน้มชะลอค่อนข้างแน่นอนจากสถานการณ์ปัจจุบัน จะส่งผลต่อแนวโน้มการส่งออกของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยในเบื้องต้น EXIM BANK ประเมินว่าในกรณีไทยถูกเก็บ 10% เช่นเดียวกับทุกประเทศ การส่งออกไทยปีนี้จะยังขยายตัวได้เล็กน้อยราว 0.5-1.5% 

 

          แนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการ

          ● เข้าถึงคู่ค้าของตนเอง ผู้ประกอบการส่งออกจำเป็นต้องติดต่อประสานงานกับคู่ค้าอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อจับสัญญาณผลกระทบที่คู่ค้าอาจได้รับ ไปจนถึงสอบถามยืนยันการรับมอบสินค้าท่ามกลางความคลุมเครือของมาตรการสหรัฐฯ และอาจต้องตกลงยอมรับค่าใช้จ่ายภาษีนำเข้าที่อาจถูกเรียกเก็บเพิ่มขึ้นกับสินค้าไทยตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2568

          ● เข้าถึงเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง โดยเฉพาะความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน ซึ่งอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าตลาดการเงินเผชิญกับความผันผวนค่อนข้างมากในปัจจุบันเมื่อเทียบกับฝั่งของภาคการผลิต ผู้ประกอบการจึงควรใช้เครื่องมืออย่าง Foreign Exchange Forward Contracts เพื่อปิดความเสี่ยง ซึ่งการใช้เครื่องมือดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการไม่ต้องวิตกกังวล และสามารถดำเนินการจัดการงานอื่นๆ อาทิ การลดต้นทุน และการบริหารห่วงโซ่อุปทาน ให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังสามารถใช้บริการประกันการส่งออก ซึ่งเป็นการทำประกันก่อนการส่งออกเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ผู้ซื้อผิดนัดชำระเงินค่าสินค้า ผู้ซื้อปฏิเสธการรับมอบสินค้า ผู้ซื้อล้มละลาย รวมถึงความเสี่ยงจากสงคราม จลาจล และรัฐประหาร 

          ● เข้าสู่ตลาดใหม่ การแสวงหาคู่ค้ารายใหม่ถือเป็นแนวทางปกติของการดำเนินธุรกิจ แต่การแสวงหาตลาดประเทศใหม่ๆ อาจเป็นเรื่องที่ท้าทายกว่าและมักถูกละเลยจากบริษัทที่มีผลการดำเนินงานดีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติเมื่อตลาดหลักของภาคส่งออกอย่างสหรัฐฯ และจีน ต่างตกอยู่ในวังวนของสงครามการค้า ดังนั้น การแสวงหาตลาดประเทศใหม่ๆ จึงเป็นกลยุทธ์ที่จำเป็น โดยหากพิจารณาการส่งออกไปตลาดอื่นที่ขยายตัวดี อาทิ การส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบไปอาเซียนในไตรมาส 1/2568 ที่ขยายตัว 17% ขณะที่การส่งออกคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบไป EU ขยายตัวถึง 65% รวมถึงเครื่องปรับอากาศไปตะวันออกกลางขยายตัว 39% ก็ยังพบว่ามีหลายตลาดที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถใช้กลไกภาครัฐ เช่น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และ EXIM BANK เป็นตัวช่วยในการเข้าสู่ตลาดใหม่

          ● เข้าใจสถานการณ์ให้ถ่องแท้ คงต้องยอมรับว่ามาตรการ Reciprocal Tariffs มีรายละเอียด มีความซับซ้อน และมีความไม่แน่นอนอยู่มาก นอกจากนี้ ยังอาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติมหรือมีแนวมาตรการใหม่ออกมาได้อย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการจึงควรติดตามข้อมูลและสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประเมินผลกระทบต่อธุรกิจตนเองได้ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่นสินค้าในหมวดยางพาราด้วยกันอย่างยางพาราขั้นต้น ยางรถยนต์และถุงมือยาง กลับถูกเก็บภาษีเพิ่มในอัตราที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังอาจต้องติดตามข้อมูลของประเทศคู่แข่งด้วยว่าถูกเรียกเก็บภาษีสูงหรือต่ำกว่าไทย เพื่อวางกลยุทธ์และตลาดให้แก่สินค้าของตนเองต่อไป

          EXIM BANK พร้อมร่วมเดินหน้าหา Solution ในการนำพาผู้ประกอบการส่งออกของไทยก้าวข้ามผ่านวิกฤตในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอย่าง Foreign Exchange Forward Contracts และบริการประกันการส่งออก ที่จะทำให้สามารถบริหารความเสี่ยงและรุกตลาดใหม่ได้อย่างมั่นใจ ไปจนถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่าง EXIM Shield Financing ที่สนับสนุนสินเชื่อพร้อมเครื่องมือประกันการส่งออก และ EXIM-DITP Empower Financing ที่สนับสนุนสินเชื่อหมุนเวียนสำหรับการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของ DITP นอกจากนี้ EXIM BANK ยังเปิด Export Clinic สำหรับ Update สถานการณ์สำคัญและให้คำแนะนำเบื้องต้นที่จำเป็นกับผู้ประกอบการเพื่อให้สามารถเข้าใจสถานการณ์และบริบทการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที

 

 

5140

Click Donate Support Web 

PTG 720x100

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลให้รอบ...
 ก.ล.ต.ร่วมออกบูธในงานมหกรรมการเงิน ครั้ง...
SAM ชูแนวคิด 'ส่งมอบโอกาสเพื่อคนไทย เริ่มต้นใหม่...
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุง...
ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับจดทะเบียน 12 DR ใหม่ อ้างอิงห...

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัท ดีวี8 จำกัด (มหาชน)
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัท ดีวี8 จำกัด (มหาชน)           สภาพ...

Read more

ก.ล.ต. ร่วมออกบูธในงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 25 (MONEY EXPO 2025)
 ก.ล.ต.ร่วมออกบูธในงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 25 (MONEY EXPO 2025)        นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรร...

Read more

SAM ชูแนวคิด'ส่งมอบโอกาสเพื่อคนไทย เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน'เปิดบูท'มันนี่ เอ็กซ์โป 2025'จัดโปรฯ เด่นทรัพย์มือสอง พร้อมช่วยลูกค้าปรับหนี้ NPL และ'คลินิกแก้หนี้ by SAM'
SAM ชูแนวคิด 'ส่งมอบโอกาสเพื่อคนไทย เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน' เปิดบูท'มันนี่ เอ็กซ์โป 2025' จัดโปรฯ เด่นทรัพย์มือสอง พร้อมช่วยลูกค้าปรับหนี้ NPL และ...

Read more

ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) หุ้นที่มีราคาปิดตั้งแต่ 50 บาท 6 เดือนติดต่อกัน และกรอบราคาต่ำสุด (Floor) หุ้นเข้าใหม่ ถึง 13 มิ.ย. นี้
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) หุ้นที่มีราคาปิดตั้งแต่ 50 บาท 6 เดือนติดต่อกัน และกรอบราคาต่ำสุด (Floor...

Read more

ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับจดทะเบียน 12 DR ใหม่ อ้างอิงหุ้น Magnificent 7 – Terrific 10 ออกโดย BLS เริ่มซื้อขาย 15 พ.ค. นี้
ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับจดทะเบียน 12 DR ใหม่ อ้างอิงหุ้น Magnificent 7 – Terrific 10 ออกโดย BLS เริ่มซื้อขาย 15 พ.ค. นี้         &nb...

Read more