WORLD7

BANPU2024

powertime 950x100pxsmed MTI 720x100

 

5156 NXPO Nanotech

กระทรวง อว. โดย สอวช. – นาโนเทค ผนึกกำลังระดมสมอง จัดทำแผนที่นำทางการพัฒนานาโนเทคโนโลยี ปี 2571–2575 ชี้ต้องเชื่อมโยงทุกภาคส่วน รับมือความเปลี่ยนแปลงโลกอนาคต

          สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศน.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย พ.ศ. 2571–2575” ครั้งที่ 1 ณ สอวช. ชั้น 14 อาคารจัตุรัสจามจุรี โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา มหาวิทยาลัย และอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุม เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางของเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่ออนาคตของประเทศไทยและโลก

          ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการ สอวช. เปิดเผยว่า แผนที่นำทางฉบับใหม่นี้นับเป็นครั้งที่ 4 โดยที่ผ่านมาได้มีการจัดทำแผนที่นำทางมาแล้ว 3 ฉบับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2564 ซึ่ง สอวช. และนาโนเทคได้ร่วมกันประเมินผลเพื่อทบทวนความสำเร็จและประเด็นที่ควรปรับปรุง เพื่อยกระดับแผนที่นำทางฉบับใหม่ให้ตอบโจทย์ได้ดียิ่งขึ้น แผนฉบับใหม่นี้จะไม่ทำทุกเรื่อง แต่จะเลือกทำในประเด็นสำคัญก่อน โดยมี 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ Nano for Advanced and High-Quality Healthcare, Nano for Green Technology & Climate Change Solutions, Nano for Smart and Sustainable AgriFood, และ Nano for safety and ethics และเตรียมเชื่อมโยงกับร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 14 รวมถึงแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) และแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ ที่ได้จัดทำแผนฯ ในปี พ.ศ. 2571-2575 เช่นเดียวกัน

          “ในแผนที่นำทางฉบับก่อนสิ่งที่ยังขาดคือกลไกขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงงบประมาณที่สอดคล้องต่อการนำแผนไปสู่การปฏิบัติจริง เราอาจนำแผนที่นำทางที่ได้จากการระดมสมองร่วมกันครั้งนี้ นำเสนอต่อสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนในระดับชาติ โดยภาครัฐจะเป็นผู้เชื่อมโยง แต่การขับเคลื่อนต้องอาศัยพลังจากภาคเอกชน อุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษา” ดร.สุรชัย กล่าว

          สอดคล้องกับ ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ผู้อำนวยการ ศน. ที่กล่าวว่า แผนที่นำทางฯ ทั้ง 3 ฉบับที่ผ่านมามุ่งเน้นภาพรวมของโครงสร้างประเทศ แต่แผนฉบับใหม่นี้จะเปลี่ยนแนวทาง โดยใช้โจทย์จากภาคอุตสาหกรรมเป็นตัวตั้ง แล้วมองย้อนกลับไปเกือบ 20 ปีของการพัฒนางานวิจัยและระบบนวัตกรรมในประเทศ 

          ด้าน ดร.คมเมธ จิตวานิชไพบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค สอวช. กล่าวว่า ทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีนาโนจะต้องสอดคล้องกับแนวโน้มโลกในปี 2030 ซึ่งจะเป็นยุคของ “สังคมไฮบริด” ที่ปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาผสมผสานกับการทำงาน การตัดสินใจ และการใช้ชีวิต ส่งผลให้ความคิดสร้างสรรค์ สุขภาวะ และความเท่าเทียมมีบทบาทสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Z และ Gen Alpha ที่จะเป็นแรงผลักสำคัญของการขับเคลื่อนสังคมและนวัตกรรม

          สำหรับบทบาทของนาโนเทคโนโลยีในอนาคต ดร.คมเมธ ชี้ว่า จะมีการบรรจบกันของนาโนเทคกับศาสตร์อื่น เช่น แพทย์แม่นยำ สุขภาพเฉพาะบุคคล และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยตลาดนาโนเทคทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตจาก 91.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2024 สู่ 333.73 พันล้านดอลลาร์ในปี 2032

          “แผนนี้จะถูกเชื่อมโยงแผน ววน. ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อนนโยบาย โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณ และหากสามารถขับเคลื่อนได้จริง ก็จะเกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อทุกภาคส่วน” ดร.คมเมธ กล่าว พร้อมเน้นว่า นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องไปด้วยกันกับความเข้าใจในทิศทางโลก ความท้าทายระหว่างประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

          ทั้งนี้ ในจัดการประชุมฯ ยังได้มีการแบ่งห้องประชุมกลุ่มย่อยจำนวน 3 ห้อง เพื่อเปิดเวทีระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละสาขา โดยมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนาโนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ ได้แก่ ห้อง “Nano for Advanced and High-Quality Healthcare” ซึ่งมุ่งเน้นการยกระดับระบบบริการสุขภาพของประเทศผ่านการพัฒนาแพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) ที่ผสมผสานเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ากับมาตรฐานคุณภาพด้านการรักษาเพื่อประยุกต์ใช้ในเวชศาสตร์เชิงป้องกันและการดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมสุขภาพ และผลักดันไทยสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub), ห้อง “Nano for Green Technology & Climate Change Solutions” ที่เน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมพลังงาน การตรวจวัดและบำบัดคุณภาพน้ำและอากาศ รวมถึงการจัดการก๊าซเรือนกระจกและมลพิษ ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือทิ้ง สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) บรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality 2050 & Net Zero 2065 และห้อง “Nano for Smart and Sustainable AgriFood” ซึ่งมุ่งส่งเสริมระบบเกษตรอัจฉริยะและยั่งยืน ด้วยการใช้เทคโนโลยีนาโนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ได้มาตรฐาน การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าทางโภชนาการของผลผลิต การยืดอายุการเก็บรักษา โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารของประเทศในระยะยาว ทั้งนี้ ทุกกลุ่มยังให้ความสำคัญกับประเด็น Nanosafety และ Nanoethics ซึ่งถือเป็นประเด็นข้ามสาขาที่จำเป็นต้องพิจารณาร่วมกันเพื่อให้การพัฒนาเทคโนโลยีนาโนของไทยเป็นไปอย่างมีจริยธรรม ปลอดภัย และก่อประโยชน์อย่างแท้จริงต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

 

 

5156

Click Donate Support Web 

PTG 720x100

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลให้รอบ...
 ก.ล.ต.ร่วมออกบูธในงานมหกรรมการเงิน ครั้ง...
SAM ชูแนวคิด 'ส่งมอบโอกาสเพื่อคนไทย เริ่มต้นใหม่...
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุง...
ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับจดทะเบียน 12 DR ใหม่ อ้างอิงห...

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัท ดีวี8 จำกัด (มหาชน)
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัท ดีวี8 จำกัด (มหาชน)           สภาพ...

Read more

ก.ล.ต. ร่วมออกบูธในงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 25 (MONEY EXPO 2025)
 ก.ล.ต.ร่วมออกบูธในงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 25 (MONEY EXPO 2025)        นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรร...

Read more

SAM ชูแนวคิด'ส่งมอบโอกาสเพื่อคนไทย เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน'เปิดบูท'มันนี่ เอ็กซ์โป 2025'จัดโปรฯ เด่นทรัพย์มือสอง พร้อมช่วยลูกค้าปรับหนี้ NPL และ'คลินิกแก้หนี้ by SAM'
SAM ชูแนวคิด 'ส่งมอบโอกาสเพื่อคนไทย เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน' เปิดบูท'มันนี่ เอ็กซ์โป 2025' จัดโปรฯ เด่นทรัพย์มือสอง พร้อมช่วยลูกค้าปรับหนี้ NPL และ...

Read more

ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) หุ้นที่มีราคาปิดตั้งแต่ 50 บาท 6 เดือนติดต่อกัน และกรอบราคาต่ำสุด (Floor) หุ้นเข้าใหม่ ถึง 13 มิ.ย. นี้
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหน่วยการซื้อขาย (Board Lot) หุ้นที่มีราคาปิดตั้งแต่ 50 บาท 6 เดือนติดต่อกัน และกรอบราคาต่ำสุด (Floor...

Read more

ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับจดทะเบียน 12 DR ใหม่ อ้างอิงหุ้น Magnificent 7 – Terrific 10 ออกโดย BLS เริ่มซื้อขาย 15 พ.ค. นี้
ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับจดทะเบียน 12 DR ใหม่ อ้างอิงหุ้น Magnificent 7 – Terrific 10 ออกโดย BLS เริ่มซื้อขาย 15 พ.ค. นี้         &nb...

Read more